Émerger de la grande pauvreté : une publication en thaï

“Émerger de la grande pauvreté : méthodologie d’action et de connaissance par l’expérience” : cette publication d’ATD Quart Monde en Thaïlande, coordonnée par le Professeur Narumol Nirathron, est parue fin 2015 en langue Thaï.

photo ATD Quart Monde, rencontre avec des membres des communautés de Bangkok pour écrire le livre.

L’ouvrage est destiné à inspirer les acteurs sociaux de Thaïlande qui cherchent à développer compréhension et respect mutuel dans les programmes d’action menés avec les personnes en situation de grande pauvreté.

“กัาวพันจากความยากไร้ : แนวทางการทำงานและประสบการณ์เชิงประจักษ์” รองศาสตราจารย์ ดร. นฤมล นิราทร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ : ผู้แปลและบรรณาธิการ

นำเสนอปรัชญาและหลักการทำงานขององค์กรพัฒนาเอกชนระหว่างประเทศและกรณีศึกษาที่สะท้อนการทำงานที่ให้ความสำคัญต่อการเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และกระบวนการทำงานที่นำไปสู่การสร้างการมีส่วนร่วม การเรียนรู้ร่วมกันและการเสริมพลัง

couvertureLivreNarumol
Lire la publication Emerger de la grande pauvreté en ligne (langue thaï) en cliquant sur l’image

Le Professeur Narumol Nirathron, de l’université Thammasat à Bangkok, est membre active d’ATD Quart Monde et ancienne présidente de la Fondation des Amis d’ATD Quart Monde en Thaïlande. Elle a coordonné la rédaction de ce livre qui présente les travaux du professeur d’action sociale Jona M. Rosenfeld, de l’institut de recherche Meyers-Brookdale (Israël). Le Professeur Rosenfeld a dédié sa carrière à la recherche et à l’enseignement d’une meilleure compréhension des personnes en situation de pauvreté. Sa rencontre, il y a 40 ans, avec Joseph Wresinski, fondateur d’ATD Quart Monde l’a profondément convaincu que “les familles qui vivent la grande pauvreté ont une contribution unique à apporter”. Un des résultats de cette collaboration avec ATD Quart Monde est une méthode d’action destinée aux professionnels du travail social leur permettant d’apprendre de leurs expériences, qu’elles aient été positives ou non, et d’en tirer un savoir qui peut être réinvesti dans l’action. C’est l’objet de la première partie du livre. (Pour plus d’information, lire Emerger de la grande pauvreté, Ed Science et Service Quart Monde, 1994)

Dans la deuxième partie, les habitants de deux communautés à Bangkok, des membres actifs d’ATD Quart Monde en Thaïlande ainsi que les volontaires permanents du Mouvement international vivant en Thaïlande se sont associés pour partager leurs propres expériences et compréhension de ce que signifie vivre la grande pauvreté en Thaïlande.

หนังสือเล่มนี้ เป็นงานรวบรวมแนวทางการทำงานขององค์การนานาชาติ เอ.ที.ดี. โลกที่สี่ และประสบการณ์ของอาสาสมัคร เอ.ที.ดี. ในการทำงานกับผู้ยากไร้ในชุมชนแออัดในกรุงเทพฯ เนื้อหาในหนังสือเล่มนี้แบ่งเป็น 2 ตอน ตอนแรกเป็นงานแปลที่อธิบายปรัชญาและแนวทางการปฏิบัติการของอาสาสมัคร เอ.ที.ดี. โลกที่สี่ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหนังสือเรื่อง Emergence from Extreme Poverty เขียนโดย โจนา โรเซนเฟลด์ ในขณะที่ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ด้านสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยเยรูซาเล็ม เนื้อหาในตอนนี้แบ่งเป็น 3 บท บทแรกให้ความสำคัญกับปรัชญาพื้นฐานการทำงานขององค์การ บทที่ 2 นำเสนอตัวชี้วัดความสำเร็จที่แสดงถึงก้าวพ้นจากความยากไร้ ตัวชี้วัดเหล่านี้แม้จะมีความเฉพาะเจาะจงเนื่องจากเชื่อมโยงโดยตรงกับการทำงานของอาสาสมัครตามปรัชญาพื้นฐานของผู้ก่อตั้ง ที่ให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ระหว่างผู้ยากไร้และสังคม และการเสริมพลังความเข้มแข็งจากภายใน แต่ความเข้าใจในตัวชี้วัดจะชัดเจนมากขึ้นเมื่อนำไปเชื่อมโยงกับแนวทางการปฏิบัติงานของอาสาสมัครในบทที่ 3 ตอนที่ 2 ของหนังสือ นำเสนอประสบการณ์ทำงานของอาสาสมัคร เอ.ที.ดี. จากกรณีศึกษา 4 เรื่อง โดยเริ่มจากบทที่ 4 ซึ่งนำเสนอการทำงานของอาสาสมัครเอ.ที.ดี.ในประเทศไทย

กรณีศึกษา 2 เรื่องในบทที่ 5 และ 6 มีเนื้อหาเกี่ยวกับชีวิตของผู้หญิง 2 คนในชุมชนซึ่งอาสาสมัคร เอ.ที.ดี. ได้มีโอกาสทำความรู้จักเป็นเวลามากกว่า 2 ทศวรรษ ชีวิตของผู้หญิง 2 คนนี้เป็นทั้งภาพสะท้อนชีวิตของผู้ยากไร้ วิถีชีวิตในชุมชนแออัดในกรุงเทพฯและแนวทางการทำงานของอาสาสมัคร

กรณีศึกษาเรื่องที่ 3 ในบทที่ 7 นำเสนอกระบวนการทำงานของอาสาสมัคร เอ.ที.ดี.ร่วมกับชาวบ้านเพื่อสร้างศูนย์ชุมชน ในกระบวนการนี้อาสาสมัครสนับสนุนให้ชาวชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมอย่างแท้จริง กรณีศึกษาเรื่องนี้ยังสะท้อนบทบาทของหน่วยต่างๆ ในสังคมในการสนับสนุนทั้งทางตรงและทางอ้อมเพื่อให้ชาวชุมชนสามารถสร้าง “ศูนย์ชุมชน” ที่นอกจากจะมีความสำคัญในฐานะ “ผลงาน” ในเชิงกายภาพและการใช้ประโยชน์แล้ว ยังเป็นเสมือนสัญลักษณ์ของการทำงานที่สะท้อนปรัชญาและแนวทางการทำงานของอาสาสมัครที่พยายามเสริมพลังชาวชุมชน ให้ได้มีโอกาสแสดงตัวตน สร้างการเปลี่ยนแปลงในชุมชนได้ชัดเจน

ส่วนกรณีเรื่องสุดท้ายในบทที่ 8 นำเสนอกระบวนการทำงานของอาสาสมัครในการสนับสนุนให้ผู้ยากไร้เข้าถึงการคุ้มครองทางสังคม

กรณีศึกษาเหล่านี้เปรียบเสมือนเอกสารทางประวัติศาสตร์ที่บันทึกทั้งเรื่องราวชีวิตของผู้ยากไร้ กระบวนการทำงานของอาสาสมัครในขณะเดียวกันก็สะท้อนปรัชญาและหลักการทำงานขององค์การนานาชาติ เอ.ที.ดี. โลกที่สี่ ซึ่งในหลายส่วนสอดคล้องกับหลักการสังคมสงเคราะห์ที่ให้ความสำคัญต่อการเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และกระบวนการทำงานที่นำไปสู่การสร้างการมีส่วนร่วม การเรียนรู้ร่วมกันและการเสริมพลัง รวมทั้งเสนอเครื่องชี้วัดความสำเร็จบางส่วน แม้เครื่องชี้วัดความสำเร็จจะไม่ได้ปรากฏในกรณีศึกษาอย่างครบถ้วนแต่ก็สามารถเป็นข้อมูลอ้างอิงสำหรับการปฏิบัติงานโดยตรงกับผู้ยากไร้ได้

การบันทึกเรื่องราวย้อนอดีตเหล่านี้เป็นผลงานของผู้คนจำนวนไม่น้อยในช่วงเวลากว่า 20 ปี ประกอบด้วยครอบครัวโลกที่สี่ อาสาสมัคร เอ.ที.ดี. โลกที่สี่, เพื่อน เอ.ที.ดี.ชาวไทย จากหลายสาขาอาชีพ รวมทั้งกรรมการ มูลนิธิ เอ.ที.ดี.เพื่อนผู้ยากไร้ ซึ่งเล็งเห็นความสำคัญของการบันทึกประวัติชีวิตและเผยแพร่ปรัชญาและแนวทางการทำงานในการขจัดความยากไร้ การรวบรวมประวัติชีวิตของผู้ยากไร้นอกจากจะเป็นไปเพื่อการสนับสนุนให้ผู้ยากไร้ทำความเข้าใจกับ “อดีต” เพื่อเข้าใจ “ปัจจุบัน” และสร้าง “อนาคต” แล้ว ยังเพื่อ “บันทึก” และเผยแพร่พัฒนาการของชีวิตและชุมชน กระบวนการทำงานที่สะท้อนปรัชญาการทำงานของบาทหลวงวเรซินสกี้ ในการขจัดความยากไร้ให้หมดไปจากสังคม

Lire la publication Émerger de la grande pauvreté en ligne (langue thaï)